ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553




Daddy Dough ถือเป็นแบรนด์ โดนัท สัญชาติไทยแท้ ที่เสนอตัวเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้บริโภค ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ "แด๊ดดี้ โด" ซึ่งมีจุดเด่นด้วยเนื้อแป้งนุ่ม เมื่อได้ลิ้มรสจะรู้สึกเหมือนละลายในปากทันที ไม่รู้สึกแน่นท้องเวลาทานแป้งเป็นจำนวนมาก เคล็ดลับมาจากแป้งสูตรพิเศษกับเครื่องทอดที่ทันสมัย นำเข้าจากประเทศเยอรมนี และด้วยนวัตกรรมใหม่นี้ แด๊ดดี้ โด จึงมีโดนัทให้ลูกค้าได้เลือกมากกว่า 40 ชนิด ในราคาเริ่มต้นเพียง 21 บาท

“Daddy Dough” มีความหมายว่า แป้งของพ่อ เป็นสูตรแป้งโดนัทที่คุณพ่อของคุณ ปีเตอร์ ทวีผลเจริญ ผู้บริหารหนุ่มรุ่นใหม่ คิดค้นและพัฒนาขึ้น เมื่อครั้งยังเปิดร้านเบเกอร์รี่เล็กๆ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1985 ตอนนี้ แด๊ดดี้ โด ได้นำ สูตรนี้มาสู่ประเทศไทย ซึ่งเป็นสูตร เฉพาะไม่เหมือนใคร โดยนำนวัตกรรมเข้ามามีส่วนช่วยในการผลิตและคัดสรรส่วนผสมที่มีคุณภาพ เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะ เพื่อผลิตโดนัททุกชิ้นให้ เบา นุ่ม และหอมกรุน ตามมาตรฐานสูตรลับสไตล์แด๊ดดี้ โด ที่คงคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ
ทั้งนี้แบรนด์ แด๊ดดี้ โด ได้เริ่มต้นขึ้นจากร้านเล็กๆ ที่ทดลองขายในบริเวณ ร้านอาหารของครอบครับที่เปิดมาก่อนอยู่แล้ว ซึ่งเป็นการทดลองขายในระยะแรกให้กับผู้บริโภค ทั้งนี้เพื่อต้องการรับฟังขอคิดเห็นจากกลุ่มลูกค้าและนำมาปรับปรุงแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราคาหรือแม้แต่รสชาติ แต่ก็ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของแด๊ดดี้โดอยู่ โดยยังแป้งที่มีความนุ่มและเบาอยู่ หลังจากนั้นจึงเปิด สาขาแรกที่ถนนสีลม ข้างโรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ จนเป็นที่ถูกใจคอโดนัท และทำให้เกิดสาขาอื่นๆตามมา

ตัวแปรที่สำคัญในการสร้างคุณค่า ให้แก่ แบรนด์ แด๊ดดี้ โด ให้แข็งแกร่ง โดยอ้างอิงจากแนวคิดของ David Aaker

  1. Brand Awareness ในปัจจุบัน แบรนด์ของโดนัท ที่มีรูปแบบลักษณะคล้ายคลึงกับ แด๊ดดี้ โด มีจำนวนมาก แต่กลุ่มผุ้บริโภคก็ยังนึกถึงแด๊ดดี้ โด เป็นชื่อแรกๆ เป็นแบรนด์โดนัทแรกที่เลือกซื้อและรับประทาน โดยสิ่งที่ทำให้ผุ้บริโภคยังนึกถึงแด๊ดดี้ โด ก็เพราะเป็นโดนัท ที่มีความแตกต่าง มีสไตล์ เป็นของตัวเอง เมื่อเข้าไปในร้านจะได้เห็นทั้ง รูป รส กลิ่น และเสียง มีส่วนช่วยในการเติบโตนั้น เกิดจากการช่วยกันของผู้บริหารและพนักงาน ที่เอาใจใส่ ดูแลกลุ่มผู้บริโภคเวลาที่ได้รับประทานจะมีการสอบถามเกี่ยวกับรสชาดและบริการ ของทางร้าน เพื่อนำมาปรับปรุง การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ นอกจากการจัด Event ตามงานต่างๆ การเป็นสปอนเซอร์ ในนิตยสาร แล้วนั้นยังได้มีการเข้าหากลุ่มเป้าหมายด้วยตัวของผู้บริหารเอง เช่น การบรรยายให้ความรู้ในชั้นให้กับนักศึกษา โดยเป็นวิทยากรรับเชิญ พูดถึงแนวคิดการดำเนินกิจการของแบรนด์ ให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มนักศึกษาจำนวนมาก ทำให้เกิด ความสนใจในตัวของผลิตภัณฑ์มากขึ้น

  2. Brand Loyalty แบรนด์ Daddy Dough เป็นแบรนด์โดนัท น้องใหม่เพิ่งเกิดได้ไม่กี่ปี ฉะนั้นการจะมองหาความจงรักภักดี ในแบรนด์นั้น คงมีไม่มากนัก สิ่งที่แบรนด์แด๊ดดี้ โด จะทำได้ก้คือการทำให้แบรนด์มีคุณค่าและมอบคุณค่านั้นไปให้กลุ่มผู้บริโภคที่เป็นเป้าหมายอย่างจริงใจ ซึ่งผู้บริหารของแด๊ดดี้ โด กำลังทำอยู่ โดยมีการประเมิณความเสี่ยงเกี่ยวกับการกลับมาซื้อซ้ำของลูกค้า อย่างที่บอกไปข้างต้นลุกค้ากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่จะเป็น ผู้หญิง วัยทำงานซึ่งคนในลักษณะนี้จะใส่ใจในสิ่งรอบตัวสูง ฉะนั้น การจะยึดครองใจลูกค้าจึงจะต้องใช้ความจริงใจเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง นอกจากคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ข้อดีอย่างหนึ่งของ โดนัทที่ขายในประเทสไทย คือ คนไทยมีมุมมองเกี่ยวกับโดนัท ว่าเป็นอาหารว่าง ที่สามารถรับประทานได้ตลอดเวลา ทำให้การเข้าถึงของผลิตภัณฑ์มีสูง

  3. Perceived Quality ด้วยเอกลักษณ์ของแป้ง แด๊ดดี้ โด เป็นคุณภาพที่โดดเด่นของโดนัท คือ ความนุ่ม ความเบา ความหวานที่ลงตัว รวมถึงกรรมวิธีที่ช่วยลดคอเลสเตอรอล ที่มาจากน้ำมันในตัวโดนัท เป็นคุณภาพที่แด๊ดดี้ โด จะต้องส่งมอบให้กับลูกค้า ได้รับทราบถึงคุณภาพที่แตกต่างจาก โดนัท เเบรนด์อื่นๆ โดยคุณภาพที่ผ่านทางตัวผลิตภัณฑ์ ที่คงไว้อย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงบุคลากรของแด๊ดดี้ โด ที่ต้องมีความรู้และความเข้าใจในโดนัท และไม่ทิ้งการให้บริการที่ดี่เยี่ยมแก่ผู้บริโภค ซึ่งผ่านการอบรม มาอย่างดี จากที่กล่าวมาข้างต้น กลุ่มผู้บริโภคของเราส่วนใหญ่เป็น ผู้หญิงวัยทำงาน โดนัทส่วนใหญ่จึงผลิตมาเพื่อดึงดูดเเละตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ไม่ใช่มีเพียงแค่โดนัทอย่างเดียว ทางร้านยังมีเครื่องดื่นที่ทานควบคู่กับโดนัทของเรา เพื่อช่วยเพิ่มอรรถรสในการทานโดนัทมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเเบรนด์นี้ มีการขยายกิจการ แฟรนด์ไชส์ หลายเเห่ง ทำให้การควบคุมมาตรฐานของผลิตภัณฑ์อาจจะทำได้ยาก ดังนั้นการที่จะควบคุมมาตรฐานของสินค้าให้มีคุณภาพอยู่ในระดับทีกำหนดไว้ให้เหมือนกันทุกสาขา จึงต้องมีมาตรฐานการควบคุมที่ชัดเจน เเฟรนด์ไชส์ในเเต่ละเเห่งต้องปฏิบัติตามมาตรฐานนั้นอย่างเคร่งครัด

  4. Brand Associations สิ่งที่เชื่องโยง กลุ่มเป้ากับแบรนด์แด๊ดดี้ โด ได้นั้น เกิดได้จากการสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ ทำให้ผู้บริโภค จดจำความเป็นเอกลักษณ์นั้นคือ ความนุ่มและไม่อมน้ำมันของแป้ง รวมไปถึงความหลากหลายของรูปแบบโดนัทและราคาที่เหมาะสม นอกจากนี้สิ่งที่ทำให้ เชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมาย คือ การใส่ใจในข้อมูลข่าวสาร การทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของแบรนด์ได้ง่ายขึ้นและสะดวกขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่สามารถเชื่อมโยงสู่แบรนด์ จึงทำให้ผู้บริโภคชื่นชอบแบรนด์มากขึ้น เนื่องจากแบรนด์ แด๊ดดี้โด ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเชื่อมโยง แบรนด์ไปสู่ความทรงจำของผู้บริโภค จึงทำเกิดให้การตอบสนองจากผู้บริโภค และสิ่งเหล่านี้ยังคงสร้างทัศนคติที่ดีให้กับแบรนด์อย่างต่อเนื่อง

การคุ้มครองคุณค่าแบรนด์ผ่านกฎหมาย ( IP Protection )

สำหรับการคุ้มครองคุณค่าแบรนด์ผ่านกฎหมายของแบรนด์ แด๊ดดี้ โดนั้น เมื่อเราสังเกตุจากโลโก้จะเห็นได้ว่า มีเครื่องหมายการค้า TM ปรากฎอยู่ ซึ่งเป็นเครื่องหมายทางการค้า ที่หมายถึงการได้รับความคุ้มครองทางด้านกฎหมายในระดับหนึ่ง เนื่องจากแบรนด์แด๊ดดี้ โด เป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารสูตรเฉพาะ ทั้งนี้ยกเว้นสูตรของแป้งที่เป็นสูตรเฉพาะของแด็ดดี้โด ที่เป็นจุดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ ทำให้อาจจะสามารถ มีการลอกเลียนแบบกันได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย แสดงให้เห็นว่าแบรนด์แด๊ดดี้ โด ยังมีกฎหมายคุ้มครองอยู่ในบางส่วน การที่จะลอกเลียนแบบนั้นถือว่ายังไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ และอีกสิ่งหนึ่งที่อยู่นอกเหนือ กรอบของกฎหมายที่ไม่สามารถควบคุมได้ คือ คุณค่าของแบรนด์ที่อยู่ในใจของผู้บริโภค



แรงผลักดันความสำเร็จในการสร้างคุณค่าของแบรนด์ไทย



1. ช่องทางการสื่อสาร
สำหรับช่องทางการสื่อสารแบรนด์ สามารถเพิ่มคุณค่าของแบรนด์ได้ ต้องมีการบริหารจัดการช่องทางการสื่อสารที่เข้าถึงลักษณะความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เข้าใจการเปิดรับสื่อเเละเลือกสื่อที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง นอกเหนือกจากนี้ ยังต้องติดตาม และศึกษาช่องการสื่อสารใหม่ๆ ที่คิดว่ากลุ่มเป้าหมายจะเปิดรับ เพราะในปัจจุบันเทคโนโลยี มีวิวัฒนาการที่ไม่หยุดนิ่ง ทำให้ช่องทางของการสื่อสารมีมากและหลากหลายขึ้น ฉะนั้นการบริหารการจัดการช่องทางการสื่อถือเป็นอีกแรงผลักดันหนึ่ง ที่ช่วยเพิ่มคุณค่าให้แก่แบรนด์


2. Stakeholder
Stakeholder เปรียบเสมือนแรงขับเคลื่อนของแบรนด์ทั้งภายในและภายนอก ดังนั้นการบริหารให้แบรนด์มีประสิทธิภาพอย่างมีคุณค่า ต้องเริ่มต้นปลูกฝังคุณค่านั้นในตัวของ Stakeholder ก่อน เพราะ Stakeholder เปรียบเสมือนเอกลักษณ์ของแบรนด์อย่างนึง ที่สร้างความแตกต่างระหว่างเรากับคู่แข่ง เนื่องจาก Stakeholder นั้น เทียบได้กับ บุคคล ซึ่งการบริหารบุคคล ให้เกิดการทำงานที่มีความสอดคล้องซึ่งกันและกันนั้น จะต้องมีการจัดการดูแลที่ต้องใช้ความสามารถสูง เมื่อทำได้ก็จะทำให้แบรนด์นั้นเป็น Top of Mind ของผู้บริโภคและอยู่ได้โดยหลายๆฝ่ายยอมรับและให้ความร่วมือในการทำงาน




3. มาตรฐานของตัวผลิตภัณฑ์
สำหรับมาตรฐานของตัวผลิตภัณฑ์ ต้องมีการควบคุมอย่างต่อเนื่องและเคร่งครัด เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่กำหนดไว้ เพราะผลิตภัณฑ์ถือเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงระหว่างผู้บริโภคกับแบรนด์ เมื่อผลิตภัณฑ์ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ ก็จะทำให้ผู้บริโภคเกิดการรับรู้ตอบแบรนด์ในแง่บวก ทำให้แบรนด์มีคุณค่า และฝังตัวอยู่ในใจของผู้บริโภคอย่างยาวนาน
4. ผู้บริหาร
ก่อนที่จะให้ผู้อื่นมองเห็นคุณค่าของเเบรนด์ ผู้บริหารเเบรนด์ต้องมองเห็นคุณค่าของเเบรนด์ตนเองก่อน หลังจากนั้นจะส่งมอบคุณค่านั้นให้แก่ผู้อื่นต่อไป โดยผู้บริหารต้องมีความใส่ใจและให้ความสำคัญในทุกๆ องค์ประกอบของแบรนด์ เพื่อให้องค์กรก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภครวมถึงสภาพแวดล้อมภายนอกมักจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้บริหารจึงต้องพัฒนาแบรนด์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ผู้บริหารควรต้องพัฒนามุมมอง ความรู้ เพื่อให้การทำงานเชื่อมโยงกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

5. ลูกค้า
การที่แบรนด์หนึ่งแบรนด์นั้น จะประสบความสำเร็จและคงอยู่ได้ เปรียบเสมือนแรงขับเคลื่อนที่ทำให้แบรนด์อยู่ได้อย่างมีคุณค่าและยาวนาน ดังนั้นการที่จะรักษากลุ่มผู้บริโภคให้คงอยู่เป็นแรงผลักดันต่อไป แบรนด์จะต้องสามารถตอบสนองความต้องการที่ปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่องกับความต้องการ ด้วยเหตุนี้แบรนด์ต้องใส่ใจในทุกๆรายละเอียดของผู้บริโภคอย่างจริงใจ แบบ 360° รอบด้าน





6. CSR
การทำ CSR เพื่อรักษาความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์จะถูกสร้างขึ้นระหว่างองค์กรและผู้บริโภค รักษาความสัมพันธ์ยิ่งยาวนานยิ่งลึกซึ้ง และสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับแบรนด์ได้อีกด้วย การทำ CSR คือ การจัดแนวคิดของการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร เป็นความรับผิดชอบขององค์กรแนวใหม่ ปฏิบัติตามจรรยาบรรณหรือจริยธรรม อาสาสมัคร การบำเพ็ญประโยชน์ หากทำดีสังคมก็จะยกย่องและชื่นชม สร้างความแข็งแกร่งให้แก่แบรนด์เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ สร้างภาพลักษณ์ ต้องเคารพพลังประชาชนผู้บริโภค เป็นองค์กรที่ให้ผู้บริโภคมีความรู้สึกว่าเราเป็นผู้ให้มากกว่าผู้ค้าที่แสวงหาประโยชน์หรือกำไรเพียงอย่างเดียว มุ่งไปที่การสร้างองค์กรให้มีความดีจึงสามารถนำไปสู่ความยั่งยืนของแบรนด์ได้และเป็นที่จดจำต่อผู้บริโภค การทำ CSR สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน เป็นการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมในรูปแบบที่อยู่นอกกระบวนการทางธุรกิจ














จัดทำโดย GG_GanG [3392]


1. นางสาวกนกอร มีหมื่น ID::1500302086 No.14

2. นางสาวหงส์ทิพย์ สิมะชาติ ID::1500305626 No.19

3. นางสาวสิริธร เเสงวรากรณ์ ID::1500307754 No.22


4. นายพิชญ์พงศ์ พนารมย์ ID::1500314412 No.29


5. นางสาวศุภมาส จิรศาสตร์ ID::1500317753 No.32

6. นายณัฐกรณ์ เพ็งนิ่ม ID::1510330556 No.61